ข้อบังคับสมาคม ประจำปี 2560
ข้อที่ 1. สมาคมนี้มีนามว่า “สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ใช้อักษรย่อ ส.ส.อ.ท. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษ The Thai Association of University Women ใช้อักษรย่อ TAUW
ที่ตั้งสำนักงาน
ข้อที่ 2. สำนักงานใหญ่ของสมาคมนี้ ตั้งอยู่ที่ 24 ซอย อ่อนนุช 28 ถนนสุขุมวิท 7 เขตสวนหลวง
วัตถุประสงค์
ข้อที่ 3. สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
3.1 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีในการเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างสมาชิกสาขาวิชาชีพต่าง ๆ กับองค์การอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนส่งเสริมสถานภาพของสตรีและยุวสตรีตามหลักสิทธิมนุษยชนทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ
3.2 ส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต สนับสนุนสมาชิกและสตรีให้สนใจเพิ่มพูนความรู้ เปิดโอกาสให้ไปศึกษาดูงาน ฝึกอบรม ทำวิจัย ประชุม สัมมนาและศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น
3.3 พัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อกระตุ้น สนับสนุนและส่งเสริมสมรรถภาพของสตรีไทยให้มีอำนาจตัดสินใจและแสดงออกถึงความเป็นผู้นำสังคมทุกระดับสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่สามารถขจัดหรือแก้ไขปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสตรี
3.4 เผยแพร่ความรู้ ความคิดเห็น และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และจำเป็นแก่สังคม เพื่อพัฒนาชีวิตและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพพลานามัย สิ่งแวดล้อม สร้างเครือข่ายสหสาขาวิทยาการ สนับสนุน ส่งเสริม สืบทอด และเชิดชูเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย
3.5 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับองค์การสตรี มหาวิทยาลัยในประเทศและต่างประเทศเพื่อมิตรภาพ เพื่อความก้าวหน้าของสตรี และพัฒนาคุณภาพชีวิต
3.6 สนับสนุนให้มีสมาคมหรือชมรมสตรีอุดมศึกษาในส่วนภูมิภาค และให้มีสมาคมหรือชมรมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยฯ ในต่างประเทศ สำหรับชุมชนไทยในต่างแดน
3.7 บำเพ็ญสาธารณกุศลตามโอกาส
3.8 ร่วมกับมูลนิธิ ส.ส.อ.ท. ในวัตถุประสงค์ที่ตรงกัน ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
สมาชิกภาพ
ข้อที่ 4. สมาคมมีสมาชิก 2 ประเภท คือ
4.1 สมาชิกประเภทองค์กร ได้แก่ชมรมสตรีอุดมศึกษาส่วนภูมิภาคและชมรมสตรีอุดมศึกษาไทยในต่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันกับข้อ 3. และมีสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติตามที่ระบุในข้อ 4.2 ตามข้อบังคับนี้ ทั้งนี้ต้องมีจำนวนสมาชิกอย่างน้อย 15 คน
4.2 สมาชิกประเภทบุคคลมี 3 ประเภท คือ
4.2.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ สตรีผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งสหพันธ์สตรีมหาวิทยาลัยนานาชาติ (Federation of University Women) รับรอง
4.2.2 สมาชิกสมทบ ได้แก่
1. สตรีที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา
2. สตรีที่ได้รับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
3. สตรีที่ได้รับปริญญาตรีกิตติมศักดิ์
4.2.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ สตรีผู้ทรงเกียรติหรือคุณวุฒิ หรือมีอุปการคุณแก่สมาคมซึ่งคณะกรรมการอํานวยการเสนอให้เชิญเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ และได้รับมติเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม
ข้อที่ 5. สมาชิกประเภทบุคคล ผู้ประสงค์สมัครเป็นสมาชิก ยกเว้นสมาชิก ข้อ 4.2.3 ให้แสดงความจํานงโดยการกรอกข้อความในใบสมัครสมาชิกประเภทบุคคล เสนอต่อเลขาธิการสมาคม โดยมีสมาชิก สามัญหนึ่งคนลงนามรับรอง ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับ ให้คณะกรรมการอํานวย การพิจารณาบุคคลผู้สมัครเป็นสมาชิก โดยไม่คํานึง ถึงเชื้อชาติ ศาสนา หรือลัทธิความเชื่อ เมื่อคณะกรรมการอํานวยการพิจารณาเห็น สมควรรับเป็นสมาชิก ให้เลขาธิการแจ้งแก่ผู้สมัครทราม เป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการลงมติรับเป็นสมาชิก และได้ชําระค่าบํารุงแล้ว
ข้อที่ 6. สมาชิกประเภทองค์กร องค์กรที่มีคุณสมบัติตามข้อ 4.1 ให้แสดงความจํานงต่อคณะกรรมการของสมาคมสตรีอุดมศึกษาให้ชื่อว่า “ชมรมสตรีอุดมศึกษาจังหวัดนั้น)” หรือ “ชมรมสตรีอุดมศึกษาไทยใน (ประเทศนั้น) รัฐนั้น”
การสิ้นสุดของสมาชิกภาพ
ข้อที่ 7. สมาชิกภาพประเภทบุคคลย่อมสิ้นสุดเมื่อ
7.1 ตาย
7.2 ลาออก
7.3 ถูกศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
7.4 ประพฤติในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาคม หรือนําความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม และ 3 ใน 4 ของกรรมการอํานวยการทั้งคณะลงมติให้ออก
7.5 ไม่ชําระค่าบํารุงเกินกว่า 3 ปี และเจ้าหน้าที่ทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง และมิได้นํามาชําระภายในกำหนด 30 วัน
ข้อที่ 8. สมาชิกประเภทองค์กร สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อสมาคมหรือชมรมนั้นไม่มีกิจกรรมใด ๆ เป็นเวลาติดต่อกันเกิน 1 ปีขึ้นไป
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
ข้อที่ 9. สมาชิกของสมาคมและชมรม(………………….) ย่อมมีสิทธิประดับเครื่องหมายของสมาคมได้
ข้อที่ 10. สมาชิกย่อมมีสิทธิเสนอความเห็น ไถ่ถามหรือขอดูหลักฐานบัญชีต่างๆ ของสมาคมได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
ข้อที่ 11. สมาชิกสามัญเท่านั้นมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม
ข้อที่ 12. สมาชิกสามัญจำนวน 15 คน ขึ้นไป มีสิทธิที่จะร่วมกันเสนอให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อพิจารณาเรื่องรีบส่วน เกี่ยวกับกิจการของสมาคมได้ และคณะกรรมการอํานวยการจะต้องจัดประชุมใหญ่ภายใน 45 วัน
ข้อที่ 13. สมาชิกย่อมมีสิทธิได้รับประโยชน์ต่างๆ จากการจัดกิจกรรมของสมาคม
ข้อที่ 14. สมาชิกประเภทบุคคลมีหน้าที่ชําระค่าบํารุงให้แก่สมาคมหรือชมรมที่ตนสังกัด ตามอัตราดังต่อไปนี้
14.1 สมาชิกสามัญ เสียค่าบํารุงรายปี ปีละ 100 บาท หรือเสียค่าบํารุงครั้งเดียว 1,000 บาท ถือว่าเป็นสมาชิกตลอดชีพ
14.2 สมาชิกสมทบ เสียค่าบํารุงปีละ 50 บาท หรือเสียค่าบํารุงครั้งเดียว 500 บาท ถือว่าเป็นสมาชิกตลอดชีพ
ข้อที่ 15. สมาชิกมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับ ช่วยเหลือกิจการและบําเพ็ญตนตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
คณะกรรมการอํานวยการ
ข้อที่ 16. สมาคมนี้ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ภายใต้การอํานวยการของคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งมีจำนวน 21 คน เรียกว่า “คณะกรรมการอํานวยการ” ประกอบด้วย นายก อุปนายก 2 คนเลขาธิการ เหรัญญิก ปฏิคม บรรณารักษ์ นายทะเบียน วิเทศสัมพันธ์ และตำแหน่งอื่นๆ ตามความจําเป็นและเหมาะสม
ข้อที่ 17. วิธีการเลือกตั้งคณะกรรมการอํานวยการ ให้ที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งสมาชิกจำนวน 14 คน ด้วยการลงคะแนนลับ ให้คณะกรรมการอํานวยการที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ แต่งตั้งสมาชิกสามัญที่เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าร่วมเป็นกรรมการอีก 7 คน โดยให้มีผู้แทนจากมูลนิธิ ส.ส.อ.ท. 2 คน รวมอยู่ด้วย เป็นกรรมการอํานวยการ
ข้อที่ 18. ให้คณะกรรมการอํานวยการเลือกตั้งกันเอง เพื่อดำรงตำแหน่งต่างๆ เฉพาะตำแหน่งนายก และอุปนายกทั้ง 2 คน ต้องเป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่
ข้อที่ 19. คณะกรรมการอํานวยการอยู่ในตำแหน่งว่าระละ 3 ปี กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว จะรับเลือกตั้งซ้ำอีกก็ได้ นายกสมาคมที่ตํารงตำแหน่งครบวาระแล้ว จะได้รับเลือกตั้งซ้ำอีกก็ได้ แต่ให้อยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน ยกเว้นในกรณีที่มีการดำรงตำแหน่งในวาระแรกไม่ถึง 1 ปี ก็ให้มีโอกาสรับเลือกเป็นวาระที่ 3 ได้
ข้อที่ 20. ถ้าตำแหน่งกรรมการอํานวยการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระ ในกรณีที่ตำแหน่งนั้นเป็นของกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนนิยมอันดับถัดไปจากที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ ให้เข้าเป็นกรรมการแทน แต่ถ้ากรรมการว่างลงนี้ เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง ก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญผู้มีคุณวุฒิเหมาะสมเป็นกรรมการแทน ผู้ที่เป็นกรรมการแทนย่อมอยู่ในตำแหน่งเพียงวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
ข้อที่ 21. กรรมการอํานวยการพ้นจากตำแหน่งในกรณีต่อไปนี้
21.1 ถึงคราวออกตามวาระ
21.2 ตาย
21.3 ลาออก
21.4 พ้นจากสมาชิกภาพของสมาคม
ข้อที่ 22. คณะกรรมการอํานวยการมีหน้าที่
22.1 บริหารตามนโยยายอันอยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคมและตามมติที่ประชุม
22.2 แต่งตั้งประธานโครงการ ประธานฝ่าย กรรมการพิจารณาเฉพาะเรื่องพร้อมทั้งติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานฝ่าย และประธานโครงการต่าง ๆ
22.3 จัดประชุมใหญ่และเสนอนโยบาย เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา
22.4 จัดประชุมคณะกรรมการอํานวยการอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
22.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของชมรม (………….)
22.6 พิจารณาและรับรองการเงินที่เหรัญญิกเสนอ
ข้อที่ 23. คณะกรรมการอํานวยการมีสิทธิที่จะวางระเบียบในการปฏิบัติใดๆ ตามที่เห็นสมควร ภายใต้ข้อบังคับและวัตถุประสงค์ของสมาคม
ข้อที่ 24. คณะกรรมการอํานวยการมีสิทธิที่จะแต่งตั้งที่ปรึกษา เพื่อให้คําแนะนําและความคิดเห็น และแต่งตั้งกรรมการ อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อปฏิบัติงานตามความจําเป็นและเหมาะสมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสมาคม
ข้อที่ 25. องค์ประชุมของคณะกรรมการ ต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยหนึ่งในสาม แต่ในกรณีที่มีข้อผูกพันการจ่ายเงินตั้งแต่ 5,000 บาท ขึ้นไป องค์ประชุมต้องประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอํานวยการ
ข้อที่ 26. กรรมการอํานวยการทุกคน ยกเว้นนายกและอุปนายก มีสิทธิ์ตั้งสมาชิกสามัญผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้แทนในการประชุมคณะกรรมการอํานวยการ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นมาประชุมเองไม่ได้ และผู้แทน ไม่มีสิทธิ์ออกเสียงลงคะแนน การตั้งผู้แทนเข้าประชุมให้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรถึงเลขาธิการหรือนายกสมาคม
ข้อที่ 27. คณะกรรมการอํานวยการอาจแต่งตั้งสมาชิก ซึ่งอยู่ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เป็นผู้แทนสาขาวิชาชีพนั้น ๆ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและให้ข้อคิดเห็น ที่ปรึกษาหรือกรรมการ หรืออนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งเท่าอายุของกรรมการอํานวยการที่แต่งตั้ง
ข้อที่ 28. ประธานโครงการที่ประสงค์จะแต่งตั้งกรรมการ หรืออนุกรรมการสำหรับช่วยปฏิบัติงาน ให้เสนอชื่อผู้ประสงค์จะแต่งตั้งคณะกรรมการอํานวยการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ข้อที่ 29. ให้คณะกรรมการอํานวยการแต่งตั้งผู้แทนสมาคมฯ จำนวน 2 คน เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษาฯ ตามวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการบริหารมูลนิธิสมาคมสตรีอุดมศึกษาฯ
ข้อที่ 30. ให้ประธานโครงการ หรือกรรมการที่ได้รับมอบให้รับผิดชอบปฏิบัติงานเรื่องใดโดยเฉพาะส่งมอบเอกสารเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติและการติดต่อให้แก่เลขาธิการสมาคมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันพ้นหน้าที่ตามวาระเพื่อรวบรวมส่งมอบแก่คณะกรรมการอํานวยการชุดใหม่ต่อไป ในกรณีที่ประธานโครงการหรือกรรมการผู้รับผิดชอบก่อนหมดวาระ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
ข้อที่ 31. ให้นายกสมาคมที่พ้นตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นตามวาระหรือด้วยเหตุผลอื่นใด ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับการติดต่อและปฏิบัติงาน และบันทึกงานที่ทำค้างอยู่ส่งมอบให้คณะกรรมการอํานวยการชุดใหม่ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่หรือวันที่พ้นตำแหน่งการประชุมใหญ่
การประชุมใหญ่
ข้อที่ 32. ให้มีวาระการประชุมใหญ่สามัญประจำปีในเดือนกุมภาพันธ์ องค์ประชุมต้องประกอบด้วยสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า 30 คน ถ้ามีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกประชุมอีกครั้ง หลังจากกําหนดการประชุมครั้งแรกภายใน 15 วัน ในการประชุมครั้งที่ 2 ถ้ามีผู้มาประชุมไม่ครบ ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุมได้ ในกรณีที่เป็นการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามข้อบังคับที่ 12 ถ้ามีผู้มา ประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้ยกเลิกการประชุมนั้นได้
ข้อที่ 33. ให้คณะกรรมการอํานวยการกำหนด วัน เวลา สถานที่ และระเบียบวาระการประชุมแล้วแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สมาชิกทราบทั่วกันล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน
ข้อที่ 34. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี คณะกรรมการอํานวยการต้องรายงานกิจการ ที่ได้ปฏิบัติภายในรอบปีที่ผ่านมาตอบข้อซักถามของสมาชิก เสนอรายงานการเงินและงบดุลของสมาคม เสนอที่ ประชุมใหญ่แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และพิจารณาเรื่องอื่นๆที่เป็นข้อเสนอตามระเบียบวาระการประชุม และดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการอํานวยการ ชุดใหม่ในปีที่ต้องเลือกตั้งคณะกรรมการอํานวยการชุดใหม่
การเงิน
ข้อที่ 35. ให้คณะกรรมการอํานวยการร่วมกันรับผิดชอบดูแลรักษาทรัพย์สินและการเงินของสมาคม ตามระเบียบซึ่งคณะกรรมการอํานวยการจะได้ตราขึ้นด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่
ข้อที่ 36. ให้คณะกรรมการอํานวยการ จัดทำบัญชีการเงินและทรัพย์สินของสมาคม ตามหลักการบัญชีให้เป็นการถูกต้องและทันสมัยอยู่เสมอ
ข้อที่ 37. คณะกรรมการอํานวยการมีอำนาจจ่ายเงิน และร่วมกันรับผิดชอบในการจ่ายนั้นๆ ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการเงิน โดยเคร่งครัด นายก หรืออุปนายก และเหรัญญิกหรือเลขาธิการเป็นผู้ ลงนามเบิกจ่าย
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
ข้อที่ 38. ข้อบังคับนี้จะแก้ไขเพิ่มเติมได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่ซึ่งมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกที่เข้าประชุม
การเลิกสมาคม
ข้อที่ 39. การลงมติเลิกสมาคม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นซอยไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด
ข้อที่ 40. ในกรณีเลิกสมาคมไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ให้ตั้งกรรมการขึ้นตรวจสอบบัญชี เว้นแต่ที่ประชุมลงมติให้เลิกสมาคมนั้นจะได้ลงเป็นอย่างอื่น และเมื่อชําระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่ให้ให้แก่ องค์การที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันหรือองค์กรการกุศลอื่น ตามแต่ที่ประชุมใหญ่เห็นควร